1.การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม
ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต การออกแบบจนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า ควบคุมระบบการผลิตและระบบคุณภาพทั้งหมด ในรายงานทางอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ตลอดจนโรงงานผลิตเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นการทำลายวงจรลงบนแผ่นปริ้น ชึ่งจะช่วยในความสะดวกสบาย และความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบลายวงจรนั้น เป็นที่นิยมใช้กันใน กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางไปจนถึง กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่นกลุ่มโรงงานผลิตบอร์ดทดลอง หรือการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ซึ่งมีขนาดเล็กลง กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงนิยมใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในกระบวนการผลิตและการออกแบบลายวงจร ที่มีความระเอียดสูงๆโดยใช้โปรแกรม Protel ดังรูปตัวอย่างต่อไปนี้วิธีที่ 1. สร้างลายวงจรตามต้องการให้เสร็จสิ้นก่อน(ใช้เลเยอร์ TopLayer หรือ BottomLayer)วิธีที่ 2. สร้างลายวงจรที่เป็นแผ่นสี่เหลี่ยม(เป็นการสร้างแบ็คกราวด์)..เลือกเลเยอร์ที่ไม่ใช้งานเช่น KeepOutLayer...กด P เลือก Fill...ลากคร่อมบริเวณที่ทำปริ้น
วิธีที่ 3. จะได้ดังรูป(เมื่อสร้างตอนแรกมันจะบังลายวงจร..ทำการคลิกเลเยอร์อื่นๆลายวงจรจะปรากฏ
วิธีที่ 4. กดปุ่มเครื่องพิมพ์จะได้ Preview ดังรูป
วิธีที่ 5. คลิกขวาบริเวณดังรูป...เลือก Properties
วิธีที่ 6. เลือก Show Holes....Gray Scale..ดังรูป .....เลื่อน-เลือก-ลบ เลเยอร์ให้เรียงจากบนลงล่าง โดย MultiLayer จะเป็นจุดต่อ เช่น Pad Via ฺ....BottomLayer เป็นเลเยอร์ลายทองแดงที่ต้องการทำ......KeepOutLayer เป็นเลเยอร์ที่เราสร้าง Fill เพื่อเป็นพื้นฉากหลัง จะได้ต้นแบบที่เป็น เนกกาทีฟตามที่ต้องการ
2.การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำและตรวจสอบบัญชี
1. คอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ Hardwareเป็นส่วนที่สามารถมองเห็นจับต้องได้ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับเข้าข้อมูล (Input Devices) อุปกรณ์รับเข้าประกอบด้วย คีย์บอร์ด เมาส์ จอสัมผัส สแกนเนอร์ ปากกาแสง อุปกรณ์รับเข้าด้วยเสียง (Voice Recongnizers) หน่วยประมวลผลกลางหรือ ซีพียู (Central Processing Unit) ประกอบด้วย 1. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่นำคำสั่งที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำหลักมาสั่งการและประสานการทำงานของสวนประกอบอื่นในฮาร์ดแวร์ 2. หน่วยคำนวณและตรรกะ(Arithmetic Logic ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณผลทางคณิตศาสตร์ 3. หน่วยความจำหลัก (Primary Storage Unit)เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลชั่วคราวในขณะที่มีการเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองขึ้นมาใช้ หน่วยความจำหลักสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม RAM เป็นหน่วยความจำที่ใช้ประมวลผลข้อมูลหรือประมวลผลคำในขณะทำงานหากเกิดไฟฟ้าดับข้อมูลที่ประมวลผลอยู่ในRAMในขณะนั้นจะหายไปเว้นแต่จะมีการสำรองข้อมูล หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว ROM ข้อมูลและโปรแกรมต่างๆจะไม่หายไปหากเกิดไฟฟ้าดับ หน่วยส่งออก(Output Devices) เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ หน่วยตอบสนองด้วยเสียง (Voice Output) พล็อตสเตอร์ และหน่วยความจำสำรอง(Secondary Storage Devices)
Ø ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ Softwareเป็นรายละเอียดของชุดคำสั่งงานที่ควบคุมการปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์
Ø ข้อมูลและการประมวลผล Data wareซึ่งจะถูกจัดเก็บรวมไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล ซึ่งคอมฯจะช่วยประมวลผลมีหลายวิธีการประมวลผลแบบกลุ่ม การประมวลผลแบบตอบโต้ การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
2. ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่นำแนวคิดทางด้านเทคโนโลยีมาในการปฏิบัติงานด้านต่างๆภายในองค์กรโดยมีบุคลากรเป็นผู้จัดเตรียมเพื่อให้ผู้ใช้สารสนเทศได้ประโยชน์สูงสุด
3. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีเป็นระบบที่มีหน้าที่สำคัญในการบันทึกข้อมูลเข้า จัดการประมวลผล และแสดงผลลัพธ์
4. บิต ไบต์ ฟิล เรคคอต แฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล
5. การจัดเก็บข้อมูลตามลักษณะการจัดเก็บ มี สองแบบคือ – แบบลำดับ คือการจัดเก็บตามลำดับการบันทึกข้อมูลจะถูกจัดเก็บต่อกันไปเรื่อยๆประหยัดและจัดเก็บง่ายแต่จะยุ่งยากเสียเวลาในการค้นหาเนื่องจากต้องเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่เริ่มแรก – แบบดัชนี คือการจัดเก็บที่มีตำแหน่งในการจัดเก็บ ง่ายต่อการค้นหา
6. การจัดเก็บตามลักษณะการใช้งาน
Ø แฟ้มข้อมูลหลัก คือแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานซึ่งจะมีการแก้ไขและปรับปรุงอยู่เสมอ
Ø แฟ้มข้อมูลรายการหรือแฟ้มข้อมูลการเปลี่ยนแปลง แฟ้มข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เก็บอยู่ในแฟ้มข้อมูลหลัก
Ø แฟ้มข้อมูลรายงาน คือแฟ้มข้อมูลที่ประมวลผลแล้วพร้อมที่จะพิมพ์รายงาน ส่วนมากจะเป็นแฟ้มข้อมูลชั่วคราวเมื่อพิมพ์รายงานแล้วจะลบทิ้ง
Ø แฟ้มข้อมูลสำรองBackup Fileคือแฟ้มที่ใช้จัดเก็บสำรองข้อมูล
Ø แฟ้มลงบันทึกเข้าออก Log File แฟ้มที่บ่งบอกถึงขั้นตอนการทำงานของระบบ
7. ระบบสารสนเทศแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
Ø ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการต้องใช้ฮาร์ดแวร์Computer ซอฟต์แวร์Computer ร่วมกับบุคลากรขององค์กร
Ø ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
Ø ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
8. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของวงจรรายได้ ประกอบด้วย การขายสินค้าหรือบริการ การตั้งหนี้ การเรียกเก็บเงิน และการชำระเงินจากลูกค้ารายการทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในระบบบัญชีลูกหนี้
9. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของวงจรรายจ่าย ประกอบด้วย การสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ การตั้งหนี้ การเตรียมการจ่ายเงิน การเบิกจ่ายเงินเพื่อจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ รายการทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในระบบบัญชีเจ้าหนี้
10. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของวงจรการจัดทรัพยากร ประกอบด้วย
Ø ระบบสินทรัพย์ถาวร
Ø ระบบเงินเดือนและค่าแรง
11. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของวงจรการผลิต ประกอบด้วย การวางแผนการผลิต การเบิกใช้วัตถุดิบ การจ้างแรงงาน การคำนวณต้นทุนการผลิต การโอนสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วไปยังคลังสินค้า การเบิกสินค้าออกจากคลังเพื่อจำหน่าย
12. ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของวงจรบัญชีแยกประเภท เป็นวงจรที่นำข้อมูลรายการทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานของวงจรรายได้ รายจ่าย วงจรการผลิต มาบันทึกลงในบัญชีแยกประเภท เพื่อปะมวลผลและจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อผู้ใช้ภายนอกซึ่งจะประกอบด้วยรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำคือ รายการขายสินค้า รายการซื้อสินค้า รายการเบิกวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต ส่วนรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำคือ รายการจำหน่ายหุ้น รายการจ่ายเงินปันผล นอกจากนี้ยังมีรายการปรับปรุงเมื่อสิ้นงวดได้แก่ รายการปรับปรุงรายการค้างรับ - ค้างจ่าย รายการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด รวมทั้งรายการปิดบัญชีเมื่อสิ้นงวด ได้แก่ การปิดบัญชีเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายเข้าสู่บัญชีกำไรขาดทุนและการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าสู่บัญชีกำไรสะสม
13. วงจรแบบวงแหวนหากเครื่องแม่เสียจะมีผลกระทบต่อเครื่องลูก
14. ขั้นตอนในวงจรบัญชีมีรายละเอียดดังนี้
Ø วิเคราะห์รายการบัญชี มีวัตถุประสงค์เพื่อการรวบรวมข้อมูล ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเอกสารประกอบรายการ
Ø บันทึกรายการในสมุดรายวัน จะต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
Ø ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท โดยนำข้อมูลมาจัดเรียงตามรูปแบบของบัญชีแยกประเภทโดยแยกรายการบัญชีตามผังบัญชี
Ø จัดทำงบทดลองก่อนปรับปรุง เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการบันทึกบัญชี
Ø บันทึกและผ่านรายการสำหรับรายการปรับปรุงบัญชี เช่นการแก้ไขข้อผิดพลาด รายการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการประมาณการทางการบัญชี รายการปรับปรุงบัญชี ณ วันสิ้นงวดเพื่อรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย
Ø การจัดทำงบทดลองหลังการปรับปรุง
Ø จัดทำงบการเงิน
Ø บันทึกและผ่านรายการปิดบัญชี
Ø จัดทำงบทดลองหลังการปิดบัญชี
Ø บันทึกและผ่านรายการสำหรับรายการโอนกลับ
15. การเปรียบเทียบการจัดทำบัญชีด้วยมือและการจัดทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
วิธีที่ 3. จะได้ดังรูป(เมื่อสร้างตอนแรกมันจะบังลายวงจร..ทำการคลิกเลเยอร์อื่นๆลายวงจรจะปรากฏ
วิธีที่ 4. กดปุ่มเครื่องพิมพ์จะได้ Preview ดังรูป
วิธีที่ 5. คลิกขวาบริเวณดังรูป...เลือก Properties
วิธีที่ 6. เลือก Show Holes....Gray Scale..ดังรูป .....เลื่อน-เลือก-ลบ เลเยอร์ให้เรียงจากบนลงล่าง โดย MultiLayer จะเป็นจุดต่อ เช่น Pad Via ฺ....BottomLayer เป็นเลเยอร์ลายทองแดงที่ต้องการทำ......KeepOutLayer เป็นเลเยอร์ที่เราสร้าง Fill เพื่อเป็นพื้นฉากหลัง จะได้ต้นแบบที่เป็น เนกกาทีฟตามที่ต้องการ
3. สรุปเรื่อง การออกแบบต่าง ๆ ที่ใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม
ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น นอกจากจะใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีต่างๆ เช่น บัญชีเงินเดือน บัญชีลูกหนี้และบัญชีเจ้าหนี้แล้ว ก็อาจจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานของโรงงานโดยตรง เช่น การจัดส่งสินค้าตามใบสั่ง การควบคุมวัสดุคงคลัง การจัดการผลิต และการคิดราคาต้นทุนสินค้า เป็นต้น
ในการจัดสินค้าส่งตามใบสั่ง (order filling) นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยรวดเร็วสมมติว่าพนักงานเจาะบัตรเจาะใบสั่งสินค้าของบ่ายวันที่ผ่านมาและของเช้าวันนั้นเสร็จภายใน ๑๒.๐๐ นาฬิกา ระหว่างเวลาที่พนักงานหยุดพักรับประทานอาหารกลางวันคอมพิวเตอร์ก็จะพิมพ์ใบหยิบสินค้า (picking label) ให้ เมื่อพนักงานคลังสินค้ากลับเข้าทำงานเวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ก็เริ่มจัดสินค้าลงหีบห่อได้ทันทีภายใน ๑๗.๐๐ นาฬิกา ของวันนั้นส่วนตอนเช้า พนักงานคลังสินค้าก็จะได้มีเวลาตรวจสินค้าคงคลังและจัดสินค้าที่มาใหม่
นอกจากพิมพ์ใบหยิบสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์จะพิมพ์ใบจัดสินค้าเข้าหีบห่อ (packing slips) จัดปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูลวัสดุคงคลัง และจัดรายการสำหรับทำใบส่งของ
ถ้าสินค้าไม่พอ คอมพิวเตอร์ก็จะทราบ เพราะมีแฟ้มข้อมูลวัสดุคงคลังอยู่ คอมพิวเตอร์จะจัดสั่งสินค้าที่ขาดให้ เพื่อจัดส่งในวันต่อๆ ไป
คอมพิวเตอร์อาจจะทำรายงานต่างๆ ให้ด้วย เช่น จำนวนลูกค้าที่สั่งสินค้าแต่ละชนิด จำนวนชิ้นสินค้าที่สั่งโดยเฉลี่ย และเนื้อที่หรือปริมาตรที่ต้องใช้ในการเก็บสินค้า
เมื่อส่งสินค้าได้เร็วขึ้นก็มีทางเก็บเงินได้เร็วขึ้น มีทางขายสินค้าได้มากขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าน้อยลง
นอกจากจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดสั่งสินค้าแล้ว ก็อาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานสินค้าคงคลัง ซึ่งจะเห็นผลได้ชัดเจนทั้งทางด้านความต้องการเงินสดและด้านกำไร หลักสำคัญก็คือ จัดสั่งสินค้าจากผู้ผลิตให้มีมากพอขายแต่ไม่ให้มากเกินไป ถ้ามีสินค้าไม่พอขายก็ขาดกำไรจากสินค้าที่ไม่ได้ขายนั้น ถ้ามีสินค้ามากเกินไปขายไม่หมด ก็เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และเสียผลประโยชน์ที่จะได้จากการเอาเงินไปใช้หมุนเวียนทางอื่น
ข้อมูลที่สำคัญในการควบคุมวัสดุคงคลัง คือ แฟ้มข้อมูลหลัก ซึ่งอาจจะได้มาจากระบบจัดสั่งสินค้าหรือสร้างขึ้นโดยเฉพาะเพื่อทำงานด้านวัสดุคงคลัง อย่างไรก็ตามแฟ้มข้อมูลหลักจะระบุความต้องการของสินค้าทุกชนิดในอดีตและการเคลื่อนไหวของสินค้าเหล่านั้นในปัจจุบัน
การใช้ประวัติความต้องการสินค้ามาทำนายความต้องการในเดือนต่อๆ ไป มีสูตรและวิธีทำนายหลายประเภทวิธีทำนายต่างๆ นี้มีผลต่างกัน ฉะนั้น พนักงานจัดซื้อจะต้องพิจารณาการทำนายแบบต่างๆ นี้โดยถี่ถ้วน จะต้องพิจารณาผลที่ได้จากการลงทุน ความยากง่ายและปลอดภัยในการเก็บสินค้า เวลาที่ต้องรอตั้งแต่เริ่มสั่งจนได้รับสินค้าคอมพิวเตอร์จะใช้ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ไปคิดว่าเมื่อใดควรจะสั่งสินค้าชนิดใดเท่าใด
นอกจากประวัติความต้องการสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์จะคำนึงถึงข้อมูลภายนอก เช่น สภาวะเศรษฐกิจทั่วๆ ไปและกรณีพิเศษต่างๆ ด้วย เป็นต้น
พนักงานคลังสินค้าควรจะตรวจสอบสินค้าที่มีอยู่จริงว่า ตรงกับบัญชีของคอมพิวเตอร์หรือไม่ ถ้ามีความแตกต่างกันเล็กน้อยก็อาจจะปรับบัญชีของคอมพิวเตอร์ให้ตรงกับของจริงเป็นครั้งคราว แต่ถ้าแตกต่างกันมากก็จะต้องสืบหาเหตุผล
ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมวัสดุคงคลังแล้ว ก็อาจใช้ชุดคำสั่งเดียวกันนั้น ช่วยในการจัดซื้อได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารควรตรวจดูจำนวนและชนิดสินค้าที่คอมพิวเตอร์เสนอให้ซื้อและเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้างตามสภาวะเศรษฐกิจและสภาวะธุรกิจที่ผู้บริหารทราบดีกว่าคอมพิวเตอร์ ถ้าผู้บริหารเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการสั่งซื้อก็ควรแก้รายการในคอมพิวเตอร์ให้ตรงกันด้วยจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็อาจพิมพ์จดหมายสั่งซื้อสินค้าและจัดทำแฟ้มสั่งสินค้า เมื่อสินค้าที่สั่งมาถึงคลัง พนักงานรับสินค้าจะต้องตรวจของว่าถูกต้องตามที่สั่งหรือไม่ แล้วแจ้งให้คอมพิวเตอร์ทราบเพื่อจัดแฟ้มรับสินค้า และหักบัญชีจากแฟ้มสั่งสินค้าพร้อมทั้งพิมพ์รายงานว่าสินค้าชนิดใดได้รับแล้วชนิดใดยังไม่ได้รับ ชนิดใดสั่งไปนานเท่าใดแล้ว ปกติควรจะใช้เวลาเท่าใด รายงานนี้อาจนำมาใช้จัดลำดับผู้ผลิตว่าบริษัทผู้ผลิตใดบริการดีหรือไม่ดีอย่างไร เพื่อจะได้เลือกสั่งสินค้าจากผู้ผลิตที่บริการดีในภายหลัง
นอกจากสินค้าที่สั่งจากผู้ผลิตภายนอกแล้ว บางบริษัทอาจผลิตสินค้าบางอย่างขึ้นเอง หรือนำสินค้าที่สั่งจากภายนอกมาบรรจุขวดหรือกล่องที่มีขนาดเล็กลง การผลิตสินค้านี้อาจแบ่งเป็น ๒ แบบ คือ ผลิตตามที่ลูกค้าสั่ง(manufacture-to-order) และผลิตเข้าคลัง (manufacture-to-stock) ในการนี้เราอาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดวาระการผลิตสินค้า เพื่อให้ผลิตสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้กับลูกค้า หรือให้มีพอขายจากคลัง
คอมพิวเตอร์อาจต้องออกกำหนดการผลิต ระบุว่าจะต้องผลิตอะไร เมื่อใด ก่อนหรือหลังสิ่งใด ถ้าไม่ใช้คอมพิวเตอร์ก็อาจทำกำหนดการผลิตได้ แต่จะเสียเวลามากและอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร คอมพิวเตอร์จะแปลความต้องการสินค้าเป็นความต้องการทางด้านงานต่างๆ ว่า สินค้าใดจะต้องผลิตเป็นจังหวะอย่างไร แยกเป็นงานย่อยอย่างไรจะแบ่งพนักงานออกทำงานทางใดเมื่อใด เมื่องานใดเสร็จคอมพิวเตอร์ก็จะจัดการปรับกำหนดต่างๆ ให้สอดคล้องกันด้วย
การใช้คอมพิวเตอร์จะช่วยให้ประสิทธิภาพของโรงงานดีขึ้น เช่น แทนที่จะทำงานที่ ๑ ตามด้วยงานที่ ๒ งานที่ ๓ เรื่อยๆ ไปตามใบสั่ง คอมพิวเตอร์อาจจะช่วยวิเคราะห์ก่อนว่างานที่ ๑ กับที่ ๓ และที่ ๕ เป็นงานแบบเดียวกันควรจัดกำหนดการทำติดต่อกันไปให้เสร็จ แล้วจึงค่อยทำงานที่๒ และที่ ๔ ซึ่งทำให้เสียเวลาปรับเครื่องน้อยลง ดังนี้เป็นต้น เมื่อประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น ราคาค่าผลิตก็จะต่ำลง เป็นประโยชน์ทั้งด้านผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้ซื้อ
จากการใช้คอมพิวเตอร์จัดวาระการผลิตสินค้า และจากบัตรลงเวลาที่ใช้ในการทำบัญชีเงินเดือน เราอาจให้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ต่อไปอีกขั้นหนึ่งว่าพนักงานผู้ใดทำงานชนิดใดได้ผลดี ทำงานชนิดใดได้ผลไม่ดี เพื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ใช้ในการจัดให้ผู้ใดทำงานอะไรอย่างไรต่อไป
นอกจากนี้ ยังอาจให้ตีราคางานที่กำลังทำอยู่และที่ทำเสร็จไปแล้ว การตีราคางานที่กำลังทำอยู่นั้น อาจจะใช้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงงานที่ยังเหลือ เช่น สินค้าชนิดหนึ่งมีผู้สั่งจำนวนมากในราคาหนึ่ง เมื่อทำไปได้เพียงครึ่งเดียว ปรากฏว่าค่าแรงค่าวัสดุสูงกว่าที่คาดไว้มากฝ่ายบริหารก็จะได้พิจารณาว่ามีทางเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อลดค่าใช้จ่ายของส่วนที่ยังเหลือได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ก็จะได้รีบขึ้นราคาสินค้าชนิดนั้นก่อนที่จะมีผู้สั่งเพิ่มเติม การตีราคางานที่เสร็จแล้วนั้น อาจจะนำมาใช้วัดสมรรถภาพของหน่วยงานต่างๆ ได้ด้วย
ผลการใช้คอมพิวเตอร์จัดบุคลากรและตีราคางานนี้จะช่วยให้บริษัทควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างใกล้ชิด และช่วยในการพิจารณาการตัดรายจ่ายว่าควรตัดทางด้านใดอย่างไร
การใช้คอมพิวเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมนี้ รวมถึงการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วย
ในการจัดสินค้าส่งตามใบสั่ง (order filling) นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยรวดเร็วสมมติว่าพนักงานเจาะบัตรเจาะใบสั่งสินค้าของบ่ายวันที่ผ่านมาและของเช้าวันนั้นเสร็จภายใน ๑๒.๐๐ นาฬิกา ระหว่างเวลาที่พนักงานหยุดพักรับประทานอาหารกลางวันคอมพิวเตอร์ก็จะพิมพ์ใบหยิบสินค้า (picking label) ให้ เมื่อพนักงานคลังสินค้ากลับเข้าทำงานเวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ก็เริ่มจัดสินค้าลงหีบห่อได้ทันทีภายใน ๑๗.๐๐ นาฬิกา ของวันนั้นส่วนตอนเช้า พนักงานคลังสินค้าก็จะได้มีเวลาตรวจสินค้าคงคลังและจัดสินค้าที่มาใหม่
นอกจากพิมพ์ใบหยิบสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์จะพิมพ์ใบจัดสินค้าเข้าหีบห่อ (packing slips) จัดปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูลวัสดุคงคลัง และจัดรายการสำหรับทำใบส่งของ
ถ้าสินค้าไม่พอ คอมพิวเตอร์ก็จะทราบ เพราะมีแฟ้มข้อมูลวัสดุคงคลังอยู่ คอมพิวเตอร์จะจัดสั่งสินค้าที่ขาดให้ เพื่อจัดส่งในวันต่อๆ ไป
คอมพิวเตอร์อาจจะทำรายงานต่างๆ ให้ด้วย เช่น จำนวนลูกค้าที่สั่งสินค้าแต่ละชนิด จำนวนชิ้นสินค้าที่สั่งโดยเฉลี่ย และเนื้อที่หรือปริมาตรที่ต้องใช้ในการเก็บสินค้า
เมื่อส่งสินค้าได้เร็วขึ้นก็มีทางเก็บเงินได้เร็วขึ้น มีทางขายสินค้าได้มากขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าน้อยลง
นอกจากจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดสั่งสินค้าแล้ว ก็อาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานสินค้าคงคลัง ซึ่งจะเห็นผลได้ชัดเจนทั้งทางด้านความต้องการเงินสดและด้านกำไร หลักสำคัญก็คือ จัดสั่งสินค้าจากผู้ผลิตให้มีมากพอขายแต่ไม่ให้มากเกินไป ถ้ามีสินค้าไม่พอขายก็ขาดกำไรจากสินค้าที่ไม่ได้ขายนั้น ถ้ามีสินค้ามากเกินไปขายไม่หมด ก็เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และเสียผลประโยชน์ที่จะได้จากการเอาเงินไปใช้หมุนเวียนทางอื่น
ข้อมูลที่สำคัญในการควบคุมวัสดุคงคลัง คือ แฟ้มข้อมูลหลัก ซึ่งอาจจะได้มาจากระบบจัดสั่งสินค้าหรือสร้างขึ้นโดยเฉพาะเพื่อทำงานด้านวัสดุคงคลัง อย่างไรก็ตามแฟ้มข้อมูลหลักจะระบุความต้องการของสินค้าทุกชนิดในอดีตและการเคลื่อนไหวของสินค้าเหล่านั้นในปัจจุบัน
การใช้ประวัติความต้องการสินค้ามาทำนายความต้องการในเดือนต่อๆ ไป มีสูตรและวิธีทำนายหลายประเภทวิธีทำนายต่างๆ นี้มีผลต่างกัน ฉะนั้น พนักงานจัดซื้อจะต้องพิจารณาการทำนายแบบต่างๆ นี้โดยถี่ถ้วน จะต้องพิจารณาผลที่ได้จากการลงทุน ความยากง่ายและปลอดภัยในการเก็บสินค้า เวลาที่ต้องรอตั้งแต่เริ่มสั่งจนได้รับสินค้าคอมพิวเตอร์จะใช้ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ไปคิดว่าเมื่อใดควรจะสั่งสินค้าชนิดใดเท่าใด
นอกจากประวัติความต้องการสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์จะคำนึงถึงข้อมูลภายนอก เช่น สภาวะเศรษฐกิจทั่วๆ ไปและกรณีพิเศษต่างๆ ด้วย เป็นต้น
พนักงานคลังสินค้าควรจะตรวจสอบสินค้าที่มีอยู่จริงว่า ตรงกับบัญชีของคอมพิวเตอร์หรือไม่ ถ้ามีความแตกต่างกันเล็กน้อยก็อาจจะปรับบัญชีของคอมพิวเตอร์ให้ตรงกับของจริงเป็นครั้งคราว แต่ถ้าแตกต่างกันมากก็จะต้องสืบหาเหตุผล
ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมวัสดุคงคลังแล้ว ก็อาจใช้ชุดคำสั่งเดียวกันนั้น ช่วยในการจัดซื้อได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารควรตรวจดูจำนวนและชนิดสินค้าที่คอมพิวเตอร์เสนอให้ซื้อและเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้างตามสภาวะเศรษฐกิจและสภาวะธุรกิจที่ผู้บริหารทราบดีกว่าคอมพิวเตอร์ ถ้าผู้บริหารเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการสั่งซื้อก็ควรแก้รายการในคอมพิวเตอร์ให้ตรงกันด้วยจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็อาจพิมพ์จดหมายสั่งซื้อสินค้าและจัดทำแฟ้มสั่งสินค้า เมื่อสินค้าที่สั่งมาถึงคลัง พนักงานรับสินค้าจะต้องตรวจของว่าถูกต้องตามที่สั่งหรือไม่ แล้วแจ้งให้คอมพิวเตอร์ทราบเพื่อจัดแฟ้มรับสินค้า และหักบัญชีจากแฟ้มสั่งสินค้าพร้อมทั้งพิมพ์รายงานว่าสินค้าชนิดใดได้รับแล้วชนิดใดยังไม่ได้รับ ชนิดใดสั่งไปนานเท่าใดแล้ว ปกติควรจะใช้เวลาเท่าใด รายงานนี้อาจนำมาใช้จัดลำดับผู้ผลิตว่าบริษัทผู้ผลิตใดบริการดีหรือไม่ดีอย่างไร เพื่อจะได้เลือกสั่งสินค้าจากผู้ผลิตที่บริการดีในภายหลัง
นอกจากสินค้าที่สั่งจากผู้ผลิตภายนอกแล้ว บางบริษัทอาจผลิตสินค้าบางอย่างขึ้นเอง หรือนำสินค้าที่สั่งจากภายนอกมาบรรจุขวดหรือกล่องที่มีขนาดเล็กลง การผลิตสินค้านี้อาจแบ่งเป็น ๒ แบบ คือ ผลิตตามที่ลูกค้าสั่ง(manufacture-to-order) และผลิตเข้าคลัง (manufacture-to-stock) ในการนี้เราอาจใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดวาระการผลิตสินค้า เพื่อให้ผลิตสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้กับลูกค้า หรือให้มีพอขายจากคลัง
คอมพิวเตอร์อาจต้องออกกำหนดการผลิต ระบุว่าจะต้องผลิตอะไร เมื่อใด ก่อนหรือหลังสิ่งใด ถ้าไม่ใช้คอมพิวเตอร์ก็อาจทำกำหนดการผลิตได้ แต่จะเสียเวลามากและอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร คอมพิวเตอร์จะแปลความต้องการสินค้าเป็นความต้องการทางด้านงานต่างๆ ว่า สินค้าใดจะต้องผลิตเป็นจังหวะอย่างไร แยกเป็นงานย่อยอย่างไรจะแบ่งพนักงานออกทำงานทางใดเมื่อใด เมื่องานใดเสร็จคอมพิวเตอร์ก็จะจัดการปรับกำหนดต่างๆ ให้สอดคล้องกันด้วย
การใช้คอมพิวเตอร์จะช่วยให้ประสิทธิภาพของโรงงานดีขึ้น เช่น แทนที่จะทำงานที่ ๑ ตามด้วยงานที่ ๒ งานที่ ๓ เรื่อยๆ ไปตามใบสั่ง คอมพิวเตอร์อาจจะช่วยวิเคราะห์ก่อนว่างานที่ ๑ กับที่ ๓ และที่ ๕ เป็นงานแบบเดียวกันควรจัดกำหนดการทำติดต่อกันไปให้เสร็จ แล้วจึงค่อยทำงานที่๒ และที่ ๔ ซึ่งทำให้เสียเวลาปรับเครื่องน้อยลง ดังนี้เป็นต้น เมื่อประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น ราคาค่าผลิตก็จะต่ำลง เป็นประโยชน์ทั้งด้านผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้ซื้อ
จากการใช้คอมพิวเตอร์จัดวาระการผลิตสินค้า และจากบัตรลงเวลาที่ใช้ในการทำบัญชีเงินเดือน เราอาจให้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ต่อไปอีกขั้นหนึ่งว่าพนักงานผู้ใดทำงานชนิดใดได้ผลดี ทำงานชนิดใดได้ผลไม่ดี เพื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ใช้ในการจัดให้ผู้ใดทำงานอะไรอย่างไรต่อไป
นอกจากนี้ ยังอาจให้ตีราคางานที่กำลังทำอยู่และที่ทำเสร็จไปแล้ว การตีราคางานที่กำลังทำอยู่นั้น อาจจะใช้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงงานที่ยังเหลือ เช่น สินค้าชนิดหนึ่งมีผู้สั่งจำนวนมากในราคาหนึ่ง เมื่อทำไปได้เพียงครึ่งเดียว ปรากฏว่าค่าแรงค่าวัสดุสูงกว่าที่คาดไว้มากฝ่ายบริหารก็จะได้พิจารณาว่ามีทางเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อลดค่าใช้จ่ายของส่วนที่ยังเหลือได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ก็จะได้รีบขึ้นราคาสินค้าชนิดนั้นก่อนที่จะมีผู้สั่งเพิ่มเติม การตีราคางานที่เสร็จแล้วนั้น อาจจะนำมาใช้วัดสมรรถภาพของหน่วยงานต่างๆ ได้ด้วย
ผลการใช้คอมพิวเตอร์จัดบุคลากรและตีราคางานนี้จะช่วยให้บริษัทควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างใกล้ชิด และช่วยในการพิจารณาการตัดรายจ่ายว่าควรตัดทางด้านใดอย่างไร
การใช้คอมพิวเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมนี้ รวมถึงการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมด้วย
ออกแบบติดตั้งงานระบบแบบครบวงจร อาทิเช่น ระบบลำเลียงวัสดุด้วยลม,เกลียวลำเลียง,กระบวนการผลิตสินค้าหลากประเภทระบบกำจัดฝุ่นในโรงงานอุตสาหกรรม dust collecting System, Big Bag Station Jumbo Bag Big Bag Loading & Unloading และอีกหลายด้านของงานวิศวกรรมรวมถึง อุปกรณ์ support ในการทำงาน เช่น Rotary Valve, Separator Filter, Axial Fan, Blower, Strainer Filter, Screw Conveyor เป็นต้น.
นอกจากงานผลิตและออกแบบที่มีคุณภาพแล้ว กลุ่มบริษัท CPM ยังนำสินค้าสำเร็จรูปในการ support งานผลิต เพื่อจำหน่าย ดำเนินงานโดย บริษัท ซีพีเอ็ม เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด CPM TRADING (THAILAND) CO.,LTD เช่น เหล็ก,สแตนเลส,วาวล์,ประเก็น,ระบบท่อ,ลูกปืน และอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ
4. Embedded System ในโรงงานอุตสาหกรรม
Embedded System คืออุปกรณ์อะไรก็ตามที่มีไมโครชิบฝังอยู่ เพื่อใช้ในการควบคุม หรือแสดงผลการทำงานของระบบและอุปกรณ์ควบคุม หรือเครื่องจักรต่าง ๆ เช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ ระบบควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงในรถยนต์ หรือแม้แต่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตของโรงงาน ซึ่งในทางอุตสาหกรรมนั้นมีตั้งแต่ระบบขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีความสลับซับซ้อน
ระบบ Embedded ที่พบเห็นในโรงงานได้แก่
1. Management Information System และ Production Management System เป็นระบบที่ใช้ สำหรับการวางแผนและประสานงานการผลิต เช่น ระบบ MRP ซึ่งในอดีตทำได้เพียง Resource Planning การจัดการวัตถุดิบ แต่ปัจจุบันระบบซอฟต์แวร์เหล่านี้สามารถพัฒนาไปได้ถึงขั้นที่เป็น ERP (Enterprise Resource Planning) โดยมีเรื่องของวันที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สั่งของวันที่เท่าไร ของจะเข้ามาวันที่เท่าไร จะสามารถทำการผลิตสินค้าได้วันไหน มีวัตถุดิบเหลืออยู่ในสต็อกเท่าไร เป็นต้น
2. Central Control System และ Distributed Control System เป็นระบบควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มีทั้งระบบควบคุมจากส่วนกลางที่มีขนาดใหญ่หรือระบบ DCS ที่มีระบบย่อยกระจายออกไป
3. SCADA (Suprevisory Control and Data Acquisition) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลและควบคุมสั่งงานรวมทั้งเก็บข้อมูล ซึ่งนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการสำรวจ เพราะบางครั้งจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมจากระยะไกล และการเฝ้าตรวจดูอย่างใกล้ชิด
4. Instrument เช่น อุปกรณ์จำพวก ทรานสมิตเตอร์, Intelligent Panel Meter หรืออุปกรณ์จำพวก สมาร์ตทรานสมิตเตอร์ ที่อาจจะมีเรื่องของวันที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
5. PLC (Programmable Logic Controller) ใช้สำหรับการควบคุมเครื่องจักรในสายการผลิต นอกจากนี้ยังมีเครื่องจักร CNC, Robotic รวมทั้งระบบควบคุมอัตโนมัติต่าง ๆ
SCADA
ระบบควบคุมแบบ SCADA หรือ Supervisory Control And Data Acquisition เป็นระบบควบคุมที่เชื่อมโยงเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมในกระบวนการผลิต อาทิเช่น PLC, Loop Controller, Intelligent Transmitter, Digital Power Meter เพื่อให้สามารถแสดงผลการทำงานของสายผลิตในลักษณะกราฟฟิก, แสดงรูปคลื่นค่าสัญญาณในกระบวนการผลิตพร้อมทั้งเก็บประวัติ, แจ้งเตือนค่าผิดปกติที่เกิดขึ้นในกระบวนการ, ดำเนินการควบคุมตามค่าที่กำหนดล่วงหน้า เพื่อลดข้อผิดพลาดและวัตถุดิบสูญเสียจากพนักงานควบคุม พร้อมทั้งเก็บและพิมพ์รายงานที่เป็นประโยชน์ต่องานควบคุมและคุณภาพของกระบวนการผลิตต่อผู้บริหารโรงงาน
ในปัจจุบันระบบควบคุมกระบวนการอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพการผลิตมักเป็นสิ่งควบคู่กันอย่างขาดกันเสียมิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมาตราฐานคุณภาพอย่าง ISO 9000 และ ISO14000 เป็นที่รับรองคุณภาพของโรงงานในแวดวงอุตสาหกรรมระดับสากลด้วยแล้ว ความต้องการควบคุมคุณภาพและกระบวนการผลิตให้สอดคล้องและมีประสิทธิภาพนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการในระดับการจัดการโรงงานเชิงคุณภาพและมีประสิทธิผลที่สุด โดยการนำเอาระบบ SCADA มาเป็นเครื่องมือช่วยเพื่อควบคุมกระบวนการผลิตและเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตเพื่อแสดงข้อมูลรายงานยังส่วนบริหารจัดการโรงงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตของโรงงานให้ทันต่อเหตุการณ์จากภายนอกที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
การนำเสนอข้อมูลสู่ผู้บริหารของโรงงานจาก SCADA ผ่านเทคโนโลยีปัจจุบันมีความคล่องตัวขึ้นมาก และกระทำรายงานได้ซับซ้อนกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก สามารถกระทำการเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายฐานข้อมูลกลางในส่วนสำนักงานเพื่อนำไปประมวลผลร่วมกับข้อมูลตัวเลขธุรกิจของโรงงานได้ทันที อาทิเช่น Oracle, Informix, Sybase, DB/2, MS-SQL, MS-Access, FoxPro เป็นต้น
นอกจากนี้ ระบบ SCADA ในปัจจุบันนี้ยังมีขีดความสามารถให้สิทธิการควบคุมและดำเนินงานระบบผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ได้อีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกให้เข้าถึงระบบ SCADA ต่อผู้บริหารและผู้จัดการโรงงานได้จากทั่วทุกมุมโลกเสมือนอยู่ในห้องควบคุมเช่นเดียวกับวิศวกร ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อให้การจัดการดูแลโรงงานสามารถเกิดข้อมูลสนับสนุนเพื่อการพิจารณาชนิดวินาทีต่อวินาทีกับผู้บริหารและจัดการได้ตลอดเวลา นั่นเอง
เนื้อหาสัมมนาเบื้องต้น
เนื้อหาสัมมนาเบื้องต้น
5.พื้นฐาน การศึกษา PLC Mitsubishi FX1S1 - YouTube